Stand up if you love Shearer เสียงตะโกนพร้อมกับการลุกขึ้นยืนปรบมือ (Standing ovation) ของคนกว่าครึ่งแสน เพื่อเป็นเกียรติแก่ยอดกัปตันทีม “อลัน เชียร์เรอร์” ผู้กำลังจะเป็นอดีตตำนานอันยิ่งใหญ่ของสโมสรฟุตบอลนิวคาสเซิล ดังกระหึ่มในสนามเซ็นต์ เจมส์ ปาร์ค เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นเครื่องพิสูจน์อะไรบางอย่างของยอดดาวยิงผู้นี้
ย้อนกลับไปประมาณ 30 ปีก่อน ด.ช.เชียร์เรอร์ ก็เป็นเหมือนเด็กชายชาวอังกฤษทั่วไป ที่ติดสอยห้อยตามครอบครัวโไปเชียร์ทีมฟุตบอลประจำเมือง หรือทีมที่ครอบครัวชื่นชอบ แน่นอนครับ ด.ช.เชียร์เรอร์ เป็นชาวเมืองนิวคาสเซิล จึงเป็นแฟนบอลของทีมประจำเมืองไปโดยปริยาย เมื่อได้ดูแล้วก็เกิดความฝันอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ใส่เสื้อลายบาร์โค้ด(ขาว-ดำ) ลงเตะในสนามเซ็นต์ เจมส์ ปาร์ค มีแฟนบอลส่งเสียงเชียร์ เหมือนกับเควิน คีแกน ฮีโร่ของเค้า
ย้อนกลับไปประมาณ 30 ปีก่อน ด.ช.เชียร์เรอร์ ก็เป็นเหมือนเด็กชายชาวอังกฤษทั่วไป ที่ติดสอยห้อยตามครอบครัวโไปเชียร์ทีมฟุตบอลประจำเมือง หรือทีมที่ครอบครัวชื่นชอบ แน่นอนครับ ด.ช.เชียร์เรอร์ เป็นชาวเมืองนิวคาสเซิล จึงเป็นแฟนบอลของทีมประจำเมืองไปโดยปริยาย เมื่อได้ดูแล้วก็เกิดความฝันอยากเป็นนักฟุตบอลอาชีพ ใส่เสื้อลายบาร์โค้ด(ขาว-ดำ) ลงเตะในสนามเซ็นต์ เจมส์ ปาร์ค มีแฟนบอลส่งเสียงเชียร์ เหมือนกับเควิน คีแกน ฮีโร่ของเค้า
เมื่อความฝันแล้ว ด.ช.เชียร์เรอร์ ก็ไม่รอช้ามุ่งมั่นซุ่มซ้อมอย่างหนักเพื่อที่จะให้ได้เป็นนักเตะอาชีพ แต่แล้วความฝันของเชียร์เรอร์ก็ถูกทดสอบเป็นครั้งแรก เมื่อเชียร์เรอร์ถูกปฏิเสธไม่ให้เป็นนักเตะฝึกหัดของสโมสรที่มุ่งหวัง ไม่รู้ว่าโชคชะตากลั่นแกล้ง หรือเป็นความผิดพลาดที่น่า “เขกกะโหลก” ของเหล่าสตาฟโค้ชผู้คัดเลือก เชียร์เรอร์มีทางให้เลือกไม่มากนัก แต่ด้วยความมุ่งมั่น หนุ่มน้อยอายุเพียง 15 ปี อย่างเชียร์เรอร์เก็บข้าวเก็บของ เดินทางออกจากบ้านเกิดอันเป็นที่รักยิ่งลงใต้เพื่อไปเป็นนักเตะฝึกหัดของสโมสรเซาท์แธมป์ตันที่อยู่ห่างจากนิวคาสเซิลประมาณ 300 ไมล์ (เทียบกับบ้านเราก็ประมาณจากหนองคายลงสงขลา)
ที่เซาท์แธมป์ตัน เชียร์เรอร์ได้เริ่มตำนานบทที่หนึ่ง ตั้งแต่อายุ 17 ปี 8 เดือน โดยการยิงแฮตทริก(1 นัด 3 ประตู)ใส่ทีมอาร์เซนอล ด้วยอายุที่น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลอังกฤษ ทำลายสถิตของจิมมี่ กรีฟฟ์ ที่อยู่ยงคงกระพันมานานถึง 30 ปี
เชียร์เรอร์อยู่ที่เซาท์แธมป์ตันเป็นเวลา 6 ปี ก็ต้องมีอันชีพจรลงเท้าอีกครั้ง เมื่อได้รับข้อเสนอขอซื้อตัวจากทีม แบล็กเบิร์น โรเวอร์ ที่มีอดีตตำนาน หมายเลข 7 แห่งทีมลิเวอร์พูล เคนนี่ ดัลกลิช เป็นผู้จัดการทีม และทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่มี เซอร์อเล็ก เฟอร์กูสัน เป็นกุนซือ
เชียร์เรอร์ปฏิเสธท่านเซอร์อเล็กซ์ เป็นครั้งแรก และย้ายไปอยู่กับแบล็กเบิร์น ด้วยค่าตัว 3.6 ล้านปอนด์ ซึ่งถือว่าแพงมากในสมัยนั้น
การตัดสินใจของเชียร์เรอร์น่าแปลกใจอยู่ไม่น้อยเพราะแมนยูในขณะนั้นเพิ่งได้รองแชมป์ลีก ศักยภาพของทีมค่อนข้างจะลงตัว ซึ่งหากเชียร์เรอร์ย้ายไป จะได้จับคู่กับเอริก คันโตน่า ยอดนักเตะชาวฝรั่งเศสที่ท่านเซอร์เพิ่งซื้อมา หากเล่นคู่กันจะเป็นคู่หูในฝันคู่นึงเลยทีเดียว เทียบกับแบล็กเบิร์นที่เพิ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอยูบนลีกสูงสุดได้ไม่นาน มีเพียงเม็ดเงินจากประธานสโมสรผู้ล่วงลับ แจ็ก วอล์กเกอร์ ที่ไม่อาจคาดหมายได้ว่าจะประสบความสำเร็จอย่างแมนยู แต่เชียร์เรอร์ก็พิสูจน์ให้เห็นว่าเค้าตัดสินใจไม่ผิด 3 ฤดูกาลต่อมา เชียร์เรอร์ยิงได้ 31 ประตู จากการลงสนาม 40 นัด นำทีมแบล็กเบิร์นเฉือนชนะแมนยูแค่เส้นยาแดง คว้าแชมป์พรีเมียร์ชิพไปครอง
แต่ใครจะรู้ว่านี่คือแชมป์แรกและแชมป์เดียวของเชียร์เรอร์ในชีวิตการค้าแข้ง
ปี 1996 ความฝันของเชียร์เรอร์ก็ถูกทดสอบอีกครั้ง เมื่อได้รับข้อเสนอขอซื้อตัวจากเซอร์อเล็กซ์ แห่งแมนยูเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งทีมแมนยูพึ่งคว้าแชมป์พรีเมียร์ชิพมา 2 สมัยซ้อน หากครั้งนี้เชียร์เรอร์ตัดสินใจไปอยู่กับทีมแมนยู การจะได้เกียรติยศ ชื่อเสียง เงินทองลำบากแค่ยกขา เพราะขณะนั้นแมนยูเข้าขั้นเป็นยอดทีมแห่งเกาะอังกฤษ และกำลังใส่เกียร์เดินหน้าเพื่อมุ่งสู่แชมป์ยุโรป แต่ในขณะเดียวกัน ทีมนิวคาสเซิล ที่เป็นทีมบ้านเกิดและเป็นทีมที่เชียร์เรอร์รักก็ได้ยื่นข้อเสนอ ขอซื้อตัวมาด้วยราคาที่แพงที่สุดในโลกในสมัยนั้น 15 ล้านปอนด์ การตัดสินใจครั้งนี้หากเป็นคนอื่นคงไม่ง่ายนัก ที่จะเลือกทำตามความฝันแต่อนาคตยังคลุมเคลือ กับเลือกอนาคตที่สดใสโดยละทิ้งความฝัน
แต่ใครคนนั้นเป็นอลัน เชียร์เรอร์ ผู้วิ่งไล่ตามความฝัน เค้าเลือกที่จะทำตามความฝัน โดยปฏิเสธท่านเซอร์อเล็กซ์เป็นครั้งที่สอง เซ็นสัญญาร่วมงานกับเควิน คีแกน ฮีโร่สมัยเด็กที่เป็นผู้จัดการทีมอยู่ ย้ายมาอยู่กับทีมรัก ใส่เสื้อลายทางขาว-ดำ ลงเตะในสนามเซ็นต์เจมส์ ปาร์ค ฟังเสียงแฟนบอลตะโกนเรียกชื่อเพื่อเชียร์เค้า เป็นฝันที่เป็นจริง
10 ปีต่อมา กับทีมนิวคาสเซิล เชียร์เรอร์ไม่มีแชมป์ประดับเกียรติประวัติเพิ่มเติมใดๆแม้แต่ใบเดียว ไม่ว่าจะใบเล็กใบใหญ่ ทำได้ดีที่สุดเพียงรองแชมป์ นำมาซึ่งการตั้งคำถามว่าเชียร์เรอร์คิดผิดหรือไม่ เพราะหากตอนนั้นเชียร์เรอร์เลือกแมนยู จะได้แชมป์ทุกแชมป์ ไม่ว่าจะเป็นแชมป์พรีเมียร์ชิพ เอฟเอคัพ ลีกคัพ หรือแม้แต่ถ้วยใบใหญ่ที่สุดในยุโรปอย่างยูโรเปี้ยนคัพ เชียร์เรอร์มีเพียงสถิติและตำแหน่งส่วนตัวเป็นของปลอบใจ อาทิ เป็นดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลลของพรีเมียร์ชิพ, ได้รับการโหวตให้เป็นนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของอังกฤษ 2 สมัย, ทำลายสถิติการยิงประตูสูงสุดของทีมนิวคาสเซิล, เป็นดาวซัลโวในฟุตบอลยูโร 96 ในนามทีมชาติอังกฤษ, เป็นกัปตันทีมชาติอังกฤษและเป็นกัปตันสโมสรนิวคาสเซิล ฯลฯ
หากมองด้วยสายตาของบุคคลภายนอก 10 ปีนี้ เป็น 10 ปีที่ว่างเปล่าของเชียร์เรอร์อย่างแท้จริง แต่ชาวจอร์ดี้(ชาวเมืองนิวคาสเซิล)ไม่คิดอย่างนั้น เชียร์เรอร์ได้ให้อะไรกับทีมนิวคาสเซิลมากกว่าตำแหน่งแชมป์ โดยเฉพาะการเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับเด็กๆในเมือง ความเป็นสุภาพบุรุษ เชียร์เรอร์ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในเรื่องความประพฤติทั้งในและนอกสนาม ความมุ่งมั่นทุ่มเทในการทำหน้าที่นักเตะและกัปตันทีม การอุทิศตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ สิ่งเหล่านี้เชียร์เรอร์ไม่เคยขาด
ถ้ามีคนถามผมว่าเชียร์เรอร์ประสบความสำเร็จในการค้าแข้งกับนิวคาสเซิลหรือไม่ หากคำว่า “ประสบความสำเร็จ” นั้นประเมินจากจำนวนแชมป์ที่เชียร์เรอร์ทำได้กับทีม ผมจะตอบว่าล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง
แต่หากคำว่า “ประสบความสำเร็จ” นั้นประเมินจากการได้รับการยกย่องจากแฟนบอล และบุคคลทั่วไป (โทนี แบลร์ นายกฯอังกฤษ ก็ยกย่องด้วยนะครับ) ในฐานะนักฟุตบอลอาชีพทั้งในและนอกสนาม ประเมินจากคนที่มีความฝัน และทำได้อย่างที่ฝันไว้ รวมทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ ที่กล้าที่จะขว้างทิ้ง อนาคตอันสดใสเพื่อเดินตามความฝันของตัวเอง ผมว่าเชียร์เรอร์นี่แหละครับ แชมป์ตัวจริงเสียงจริง
Stand up if you love shearer
1 comment:
มายืนด้วยคน
Post a Comment