หลังจากที่ผมได้ศึกษากฎหมายมหาชน จากสำนักท่าพระจันทร์ มาได้นานพอที่ทางคณะจะอัญเชิญผมออก โทษฐานใช้เวลานานเกินสมควร(จะขอต่อเวลาก็ไม่ให้) ทำให้ผมพบว่าหลักการทางกฎหมายมหาชน หลายๆหลักการสามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันที่ไม่เกี่ยวกับกฎหมายได้มากมายนัก (ซึ่งเข้าข่ายใกล้เพี้ยนเข้าไปทุกที) แต่ไหนๆก็ไหนๆแล้ว (อุตส่าห์บ้าคิดได้ ก็บ้านำเสนอได้วะ) ผมจึงนำเสนอผลงานชิ้นแรก “หลักความได้สัดส่วน ฉบับนักช็อป” โปรดทัศนา
ตามสังคมวัตถุ-บริโภคนิยม หลายคนคงประสบปัญหากับการใช้จ่ายเงิน หรือปัญหาการบริหารกิเลสภายในใจ เพราะสมัยนี้เดินทางไปไหนมาไหนเห็นสินค้าวางขายมากมาย ไอ้นู่นก็อยากได้ ไอ้นี่ก็อยากมี ถ้ามีกำลังทรัพย์ก็จับจ่ายใช้สอยอย่างเมามัน ถึงสิ้นเดือนสำหรับคนใช้บัตรเครดิตเห็นบิลเรียกเก็บเงินเข้าคงลมจับ หรืออย่างตัวผมเองจะเห็นผลตอนกดเงินATMช่วงปลายๆเดือน ที่เงินเดือนของเดือนใหม่ยังไม่เข้าบัญชี ต้องพึ่ง มาม่าประทังชีวิตอยู่เป็นนิจ เข้าข่ายเที่ยวสนุกทุกข์ตอนจ่าย
แต่ท่านทั้งหลาย อย่าพึ่งอับจนหนทาง ผมมีหลักวิธีการช็อปปิ้งอย่างสนุกสนานโดยไม่ทุกข์ตอนจ่าย โดยประยุกต์เอากับหลักการกฎหมายมหาชนทางถนัดของผมมานำเสนอ เรียกว่า “หลักการช็อปปิ้งอย่างได้สัดส่วน” มีที่มาจาก “หลักความสัดส่วน” ในกฎหมายมหาชนนั่นเอง
-1-
จากหลักนิติรัฐซึ่งเป็นหลักการพี่ใหญ่ในกฎหมายมหาชน ที่จำกัดอำนาจรัฐให้อยู่ภายใต้กฎหมายนั้น มีหลักการย่อยๆต่างๆมากมาย และหลักการสำคัญหลักหนึ่งคือ “หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง” หลักการนี้กำหนดว่าฝ่ายปกครองจะกระทำการใดๆที่เป็นการลิดรอนสิทธิของปัจเจกบุคคล ต้องมีกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติให้อำนาจไว้เสียก่อนจึงจะทำได้ หรืออาจจะเรียกว่า “ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ” แต่ในทางความเป็นจริง ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถที่จะออกกฎหมายให้มีความครอบคลุมถึงทุกการกระทำของฝ่ายปกครองได้จึงทำได้เพียงออกกฎหมายกำหนดกรอบแห่งอำนาจ ให้ฝ่ายปกครองดำเนินการภายในกรอบที่กำหนด
แต่ถึงจะมีกฎหมายให้อำนาจแล้ว ฝ่ายปกครองก็หาอาจกระทำการได้ตามอำเภอใจไม่ ยังคงต้องเคารพหลักการทางกฎหมายอีกหลักการหนึ่งที่เรียกว่า “หลักความได้สัดส่วน” ซึ่งประกอบไปด้วย 3 หลักการย่อยดังต่อไปนี้
1. หลักสัมฤทธิ์ผล หลักการนี้บอกว่า ฝ่ายปกครองจะใช้มาตราการทางปกครองใด มาตราการนั้นต้องก่อให้เกิดผลดังที่ฝ่ายปกครองต้องการให้เกิด
2. หลักความจำเป็น หลักการเรียกร้องให้ฝ่ายปกครองครีเอทมาตรการที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามข้อแรกมาหลายๆมาตรการ แล้วให้เลือกดูว่ามาตรการใดก่อให้เกิดผลกระทบสิทธิของปัจเจกบุคคลน้อยที่สุด มาตรการนั้นแหละเป็นมาตราการที่จำเป็น
3.หลักความได้สัดส่วนในความหมายอย่างแคบ หลักการนี้เป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่การกระทำทางปกครองจะมีผลไปกระทบสิทธิของเอกชน ซึ่งหลักการนี้บอกว่า ให้ชั่งน้ำหนักระหว่าง ประโยชน์ที่ปัจเจกบุคคลต้องเสียไปกับประโยชน์สาธารณะที่จะได้รับว่ามันได้สัดส่วนกันหรือป่าว คุ้มไหมที่จะต้องริดรอนสิทธิของคนๆหนึ่งเพื่อให้สาธารณะได้ประโยชน์
จากหลักการนำมาสู่วิธีการใช้ ก็ง่ายมาก
1.ดูวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ให้อำนาจฝ่ายปกครองซะก่อน แล้วค่อย
2.กำหนดมาตราการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น
3. ดูว่าไม่มีมาตรการอื่นที่ดีกว่านี้ และ
4. พิจารณาว่าสิทธิของเอกชนที่จะเสียไปคุ้มหรือป่าว กับประโยชน์ที่สาธารณะจะได้รับ
-2-
หลายคนคงสงสัยแล้วที่ว่ามาทั้งหมดเกี่ยวอะไรกับการช็อปปิ้งวะ??? ถ้างั้นโปรดดูต่อครับ
หลักการช็อปปิ้งอย่างได้สัดส่วน
หลักการนี้เรียกร้องให้นักช็อปทั้งหลายสมมุติว่าตัวเองเป็นฝ่ายปกครอง กำลังจะลิดรอนเงินในกระเป๋าตนเอง ดังนั้นนักช็อปทั้งหลายพึงใช้อำนาจเงินด้วยความระมัดระวังเพราะมันจะทำให้ท่านทุกข์ในตอนหลัง
หลักข้อที่หนึ่งบอกว่า ท่านต้องตั้งวัตถุประสงค์ในการใช้เงินซะก่อนที่ท่านจะออกช็อปปิ้ง ว่าของสิ่งใดที่จะดึงดูดเงินออกจากกระเป๋าของท่านได้ ของสิ่งนั้นจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องซื้อ โดยให้ถือว่าของที่ท่านตั้งใจจะซื้อเป็นเสมือนกฎหมายที่อนุญาตให้ท่านใช้เงินได้ การซื้อสิ่งของโดยที่ท่านมิได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าถือเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจกระทำได้ มิชอบด้วยกฎหมาย หากพบเห็นของที่อยากได้โดยบังเอิญ หลักการนี้บอกให้ท่านกลับไปทบทวน ตั้งเป็นวัตถุประสงค์ขึ้นใหม่ในใจ แล้วค่อยกลับมาซื้อใหม่ในการช็อปคราวหน้า
หลักข้อสองบอกว่า เมื่อไปเดินช็อปแล้ว ท่านต้องซื้อที่ท่านตั้งใจไว้เท่านั้น ถ้าของสิ่งใดที่ท่านไม่ได้ตั้งใจไว้กรุณาอย่าซื้อ ควรทำเพียงแค่ดู เก็บข้อมูลราคา สถานที่ขาย ไว้คราวหน้าค่อยมาซื้อ เช่นบางคนตั้งใจไปซื้อเสื้อ แต่กลับได้กลับมาครบชุดทั้งรองเท้า กางเกง อันนี้ถือว่าผิดหลักการ มิชอบด้วยกฎหมายนะครับ แต่ถ้าท่านอดใจไม่ไหวจริงๆ หรือมีการลดราคาสะบั้นหั่นแหลกประเภทลดทลายสต็อก หรือเป็นของที่บังเอิญตามหามานาน ประหนึ่งพานพบพี่น้องที่พลัดพรากมาตั้งแต่ยังเด็ก หรือมีเหตุอื่นใดที่มิอาจก้าวล่วงได้ หลักการนี้ยังคงเห็นใจท่านอยู่ อนุโลมให้ท่านใช้จ่ายเงินไปก่อนได้ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง (แหะๆ ข้อยกเว้นนี้ผมใช้บ่อย)
หลักข้อสาม นี่ต้องพิจารณาในเชิงลึก ซึ่งหลักการบอกว่า ของแต่ละอย่างก็มีหลายยี่ห้อ หลายราคา ซึ่งแต่ละยี่ห้อ หรือแต่ละราคาก็มีคุณสมบัติที่ต่างกันไป ฉะนั้นควรพิจารณาให้ถี่ถ้วนว่ายี่ห้อไหน ราคาใด ที่จะเหมาะกะกระเป๋าตังส์และวัตถุประสงค์ในการใช้ของตัวเองที่สุด เช่นเงินเดือน 8 พัน จะใส่เสื้อเวอร์ซาเช่ แม้ว่าเวอร์ซาเช่จะใส่สบายแต่ก็(อ่ะนะ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านต้องใช้เสื้อตราห่านคู่เพียงยี่ห้อเดียวนะครับ) หรือท่านจะไปตีแบดออกกำลังกาย ท่านก็ควรเลือกซื้อไม้แบดอันที่เหมาะสมกับการใช้ออกกำลังกาย ไม่ใช่ซื้อไม้แบดอย่างดี ไม่มีขอบ ทำจากเหล็กที่ใช้ทำยานอวกาศ อันละ 5 พันก็ใช่ที่ ท่านไม่ได้ไปแข่งชิงแชมป์โลกนะครับ และอีกประการหนึ่งอย่าซื้อเผื่อครับ เอาที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น เมื่อพิจารณาดูหลายๆด้าน แล้วค่อยตัดสินใจเลือกซื้อ
หลักการสุดท้ายนี้สำคัญมากครับ เพราะเป็นปราการด่านสุดท้ายก่อนที่เงินจะไหลจากกระเป๋าของท่านไปสู่กระเป๋าของคนอื่น หลักการนี้เรียกร้องให้ท่านชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ที่ท่านจะได้จากสิ่งของที่ท่านซื้อกับจำนวนเงินที่ท่านเสียไปว่ามันสัดส่วนกันหรือไม่ คุ้มค่ากับเงินที่ท่านจะต้องจ่ายหรือไม่ และประโยชน์ที่ว่าต้องไม่ใช่เพื่อสนองอารมณ์ชั่ววูบของตนเอง (ซึ่งผมเป็นบ่อยมาก) ดังนั้นเพื่อป้องกันอารมณ์แบบว่าเห็นแล้วต่อมกิเลสเกิดปฏิกริยาผลิตสารอยากได้ กระตุ้นให้เราอยากซื้อขึ้นมา ซึ่งพอซื้อมากลับรู้สึกงั้นๆอ่ะ ไม่ได้ใช้หรือไม่ก็ทิ้งหายไปไหนก็ไม่รู้ เสียดายเงิน ท่านอาจตรวจสอบได้ง่ายๆ โดยเมื่อท่านเลือกของได้แล้ว ถือไว้ในมือจ้องมองมันสัก 10 วินาที แล้วหลับตา สูดลมหายใจเข้าลึกๆ ประมาณ 3 ครั้ง ระหว่างสูดลมหายใจเข้าก็คิดไปด้วยว่า "ซื้อดีไม๊วะ" หากเสร็จแล้วท่านยังคงไม่เปลี่ยนใจ ก็เป็นอันผ่านฉลุยครับ
หลักการที่พล่ามมา เอ้ย พูดมาทั้งหมด ไม่ได้บอกให้ท่านตระหนี่ถี่เหนียวนะครับ เพียงแต่ให้ท่านใช้จ่ายเงินอย่างมีสติเท่านั้น หากเห็นว่าไม่มีประโยชน์ก็อ่านเอาขำขำนะครับ อย่าคิดมาก แต่ผมว่าลองนำไปใช้แล้วจะติดใจ 555
Tuesday, February 14, 2006
Wednesday, February 01, 2006
เรื่องแต่ง(ภาคเอากะเค้ามั่ง)
I am………………….
เสียงเพลงไอ แอม ของ บอง โจวี่ ที่ผมตัดทำเป็นริงโทน เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือดังขึ้น ในช่วงบ่ายของวันหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังจะแอบหลับในระหว่างทำงาน ผมหยิบมือถือขึ้นมาดูอย่างหงุดหงิด “ใครวะโทรมากวนเวลานอน” ผมบ่นในใจ แต่ก็ต้องรีบรับโทรศัพท์ทันที
“ครับ แม่ มีอะไรรึป่าวครับ” ผมพูดขณะปรับอารมณ์ไม่ให้มีน้ำเสียงหงุดหงิด
“ก็ไม่มีอะไรหรอก แต่วันเสาร์นี้ไปไหนหรือป่าว” แม่ผมถามอย่างมีเลศนัย
“ไม่ได้ไปไหน ครับ มีอะไรหรือป่าวครับ” ผมตอบพลางนึกทบทวนว่า เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาพึ่งโดนแม่ลากเข้าวัดหาพระหาเจ้า ทั้งๆที่วิตามินแอลยังออกฤทธิ์อยู่ในหัวผม นั่งฟังพระสวดมนต์ด้วยความทรมาน
“นึกว่าจะไปชุมนุมกะเค้าด้วย รู้ป่าวไอ้อ้วนมันจะไปชุมนุมกะเค้าด้วยนะ” แม่พูดถึงพี่ชายผมอย่างเป็นห่วง ซึ่งผมก็ไม่แปลกใจอะไร เพราะรู้ดีว่าพี่ชายผมเป็นแฟนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของสนธิ หนังสือทุกเล่ม ซีดีทุกแผ่น พี่ผมมีหมด
“ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยนิ มันโตแล้วนะครับ” ผมตอบตามความเห็น
“แม่ก็เป็นห่วงซิ ไปกะอีตาสนธิ”
ออ!! อย่างนี้นี่เอง แม่ผมไม่ชอบสนธิอย่างแรง เนื่องจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่แม่เคยชอบดู เลิกเชียร์ท่านนายกฯ แถมยังกลับมาด่าอย่างหยาบๆคายๆ
“ถ้าไปกะมหาจำลอง แม่คงไม่ห่วง” ผมยกนักการเมืองคนโปรดของแม่มาประชด
“ไปกะใคร แม่ก็ห่วงทั้งนั้นแหละ” แม่ผมโต้กลับ “คุยกะมันให้แม่หน่อยซิ แม่พูดจนปากจะฉีกแล้ว มันก็ไม่ฟัง”
ผมนึกปฏิเสธในใจทันที “ไม่เอาอ่ะ เดี๋ยวโดนข้อหาไม่รักชาติ ไม่จงรักภักดี เป็นพวกทักษิณ” เพราะเคยปะทะคารมกันบ่อยๆ
“เค้าก็ใช้เสรีภาพในการชุมนุมของเค้า ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ แม่ไม่ต้องห่วงหรอก” ผมอ้างรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางเลี่ยงหน้าที่ที่แม่มอบหมายให้
“สิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่จะคัดค้านนายกฯ ก็มีหลายทาง ก็พวกเข้าชื่อถอดถอน หรือไม่ก็ขีดๆเขียนๆ แสดงการคัดค้านก็ได้นิ ไม่เห็นจะต้องไปชุมนงชุมนุมอะไรกะเค้าด้วยเลย” แม่สวมวิญญาณอดีตคุณครู บรรยายวิชารัฐธรรมนูญให้ผมฟัง
“เอาน่าแม่ ปล่อยมันไปเหอะ มันก็โตแล้วนะ อายุจะ 30 แล้ว เรียนก็สูงเอาตัวรอดได้แหละ” ผมเริ่มอัปจนปัญญา งัดเอาอายุกับการศึกษามาอ้าง
“โตแต่ตัวนะซิ ทำอะไรไม่เคยคิดถึงหัวอกคนเป็นแม่บ้างเลย แม่เลี้ยงมากว่าจะโตได้ขนาดนี้.............” เสียงแม่ผมสั่นๆ และก็เงียบไป
“มันคงแค่ไปดูแล้วก็กลับแหละครับ แม่อย่าคิดมากเลย” ผมปลอบ
“แม่กลัวเค้าเอาทหารมายิงน่ะซิ นั่นไม่เลือกหรอกว่าใครมาดู ใครมาชุมนุม”
“จำอาเปี๊ยกได้ไหม นั่นก็ไปแค่ดู หายไป 3 วัน นึกว่าโดนยิงตายไปแล้ว โชคดี ตอนที่เค้ายิงกัน วิ่งหนีหัวซุกหัวซุนไปมุดเข้าบ้านใครก็ไม่รู้ แต่เจ้าของเค้าใจดี ให้หลบอยู่เลยรอดมาได้” แม่ผมเล่าราวกับประสบเหตุด้วยตนเอง
“แม่ครับ สมัยนี้แล้ว เค้าไม่ทำกันอย่างนั้นแล้วแหละ” ผมพูดไปหัวเราะไป ที่แม่ขุดเอาการเมืองยุคเก่ามากล่าวอ้าง
“ทำเป็นเล่นไป” แม่ผมดุเสียงเขียว
“คนมันหลงอำนาจ ทำได้ทุกอย่างแหละ เสียสัตย์เพื่อชาติยังมีคนทำมาแล้วเลย” แม่แขวะอดีตนายกฯคนนึง
“จำป้าจิตเพื่อนแม่ที่ได้เป็นผอ.โรงเรียนได้ป่าว นั่นแค่ผอ.นะ ยังบ้าอำนาจซะขนาดนั้น แล้วอำนาจระดับนี้ อย่าทำเป็นล้อเล่นนะ” แม่ผมงัดเอาน้ำร้อนที่แม่เคยอาบ มาราดตัวผม
“เดี๋ยวเกิดมีมือที่สามเข้ามาวุ่นวาย นี่เห็นข่าวว่าจะมีปาระเบิดด้วยนิ แม่ก็กลัวซิ”
“ไม่ดีหรือแม่ แม่จะได้มีลูกเป็นวีรชนเดือนกุมภาไง” ปากพาซวยของผมโพล่งออกไป ก่อนจะได้คิด
“ล้อเล่น ครับ” ผมรีบแก้ตัว
“................................................................”
แม่ผมเงียบไปพักใหญ่
“จะรักชาติ รักประชาธิปไตย ก็อย่าลืมรักแม่ด้วยละกัน” แม่ผมทิ้งท้ายก่อนวางสายไป
เสียงเพลงไอ แอม ของ บอง โจวี่ ที่ผมตัดทำเป็นริงโทน เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์มือถือดังขึ้น ในช่วงบ่ายของวันหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังจะแอบหลับในระหว่างทำงาน ผมหยิบมือถือขึ้นมาดูอย่างหงุดหงิด “ใครวะโทรมากวนเวลานอน” ผมบ่นในใจ แต่ก็ต้องรีบรับโทรศัพท์ทันที
“ครับ แม่ มีอะไรรึป่าวครับ” ผมพูดขณะปรับอารมณ์ไม่ให้มีน้ำเสียงหงุดหงิด
“ก็ไม่มีอะไรหรอก แต่วันเสาร์นี้ไปไหนหรือป่าว” แม่ผมถามอย่างมีเลศนัย
“ไม่ได้ไปไหน ครับ มีอะไรหรือป่าวครับ” ผมตอบพลางนึกทบทวนว่า เมื่อเสาร์ที่ผ่านมาพึ่งโดนแม่ลากเข้าวัดหาพระหาเจ้า ทั้งๆที่วิตามินแอลยังออกฤทธิ์อยู่ในหัวผม นั่งฟังพระสวดมนต์ด้วยความทรมาน
“นึกว่าจะไปชุมนุมกะเค้าด้วย รู้ป่าวไอ้อ้วนมันจะไปชุมนุมกะเค้าด้วยนะ” แม่พูดถึงพี่ชายผมอย่างเป็นห่วง ซึ่งผมก็ไม่แปลกใจอะไร เพราะรู้ดีว่าพี่ชายผมเป็นแฟนรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ของสนธิ หนังสือทุกเล่ม ซีดีทุกแผ่น พี่ผมมีหมด
“ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยนิ มันโตแล้วนะครับ” ผมตอบตามความเห็น
“แม่ก็เป็นห่วงซิ ไปกะอีตาสนธิ”
ออ!! อย่างนี้นี่เอง แม่ผมไม่ชอบสนธิอย่างแรง เนื่องจากรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ที่แม่เคยชอบดู เลิกเชียร์ท่านนายกฯ แถมยังกลับมาด่าอย่างหยาบๆคายๆ
“ถ้าไปกะมหาจำลอง แม่คงไม่ห่วง” ผมยกนักการเมืองคนโปรดของแม่มาประชด
“ไปกะใคร แม่ก็ห่วงทั้งนั้นแหละ” แม่ผมโต้กลับ “คุยกะมันให้แม่หน่อยซิ แม่พูดจนปากจะฉีกแล้ว มันก็ไม่ฟัง”
ผมนึกปฏิเสธในใจทันที “ไม่เอาอ่ะ เดี๋ยวโดนข้อหาไม่รักชาติ ไม่จงรักภักดี เป็นพวกทักษิณ” เพราะเคยปะทะคารมกันบ่อยๆ
“เค้าก็ใช้เสรีภาพในการชุมนุมของเค้า ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้นเอง ชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธ แม่ไม่ต้องห่วงหรอก” ผมอ้างรัฐธรรมนูญ เพื่อหาทางเลี่ยงหน้าที่ที่แม่มอบหมายให้
“สิทธิทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญที่จะคัดค้านนายกฯ ก็มีหลายทาง ก็พวกเข้าชื่อถอดถอน หรือไม่ก็ขีดๆเขียนๆ แสดงการคัดค้านก็ได้นิ ไม่เห็นจะต้องไปชุมนงชุมนุมอะไรกะเค้าด้วยเลย” แม่สวมวิญญาณอดีตคุณครู บรรยายวิชารัฐธรรมนูญให้ผมฟัง
“เอาน่าแม่ ปล่อยมันไปเหอะ มันก็โตแล้วนะ อายุจะ 30 แล้ว เรียนก็สูงเอาตัวรอดได้แหละ” ผมเริ่มอัปจนปัญญา งัดเอาอายุกับการศึกษามาอ้าง
“โตแต่ตัวนะซิ ทำอะไรไม่เคยคิดถึงหัวอกคนเป็นแม่บ้างเลย แม่เลี้ยงมากว่าจะโตได้ขนาดนี้.............” เสียงแม่ผมสั่นๆ และก็เงียบไป
“มันคงแค่ไปดูแล้วก็กลับแหละครับ แม่อย่าคิดมากเลย” ผมปลอบ
“แม่กลัวเค้าเอาทหารมายิงน่ะซิ นั่นไม่เลือกหรอกว่าใครมาดู ใครมาชุมนุม”
“จำอาเปี๊ยกได้ไหม นั่นก็ไปแค่ดู หายไป 3 วัน นึกว่าโดนยิงตายไปแล้ว โชคดี ตอนที่เค้ายิงกัน วิ่งหนีหัวซุกหัวซุนไปมุดเข้าบ้านใครก็ไม่รู้ แต่เจ้าของเค้าใจดี ให้หลบอยู่เลยรอดมาได้” แม่ผมเล่าราวกับประสบเหตุด้วยตนเอง
“แม่ครับ สมัยนี้แล้ว เค้าไม่ทำกันอย่างนั้นแล้วแหละ” ผมพูดไปหัวเราะไป ที่แม่ขุดเอาการเมืองยุคเก่ามากล่าวอ้าง
“ทำเป็นเล่นไป” แม่ผมดุเสียงเขียว
“คนมันหลงอำนาจ ทำได้ทุกอย่างแหละ เสียสัตย์เพื่อชาติยังมีคนทำมาแล้วเลย” แม่แขวะอดีตนายกฯคนนึง
“จำป้าจิตเพื่อนแม่ที่ได้เป็นผอ.โรงเรียนได้ป่าว นั่นแค่ผอ.นะ ยังบ้าอำนาจซะขนาดนั้น แล้วอำนาจระดับนี้ อย่าทำเป็นล้อเล่นนะ” แม่ผมงัดเอาน้ำร้อนที่แม่เคยอาบ มาราดตัวผม
“เดี๋ยวเกิดมีมือที่สามเข้ามาวุ่นวาย นี่เห็นข่าวว่าจะมีปาระเบิดด้วยนิ แม่ก็กลัวซิ”
“ไม่ดีหรือแม่ แม่จะได้มีลูกเป็นวีรชนเดือนกุมภาไง” ปากพาซวยของผมโพล่งออกไป ก่อนจะได้คิด
“ล้อเล่น ครับ” ผมรีบแก้ตัว
“................................................................”
แม่ผมเงียบไปพักใหญ่
“จะรักชาติ รักประชาธิปไตย ก็อย่าลืมรักแม่ด้วยละกัน” แม่ผมทิ้งท้ายก่อนวางสายไป
Subscribe to:
Posts (Atom)